การทดสอบฤทธิ์ทางชีวภาพด้านเอนไซม์
ศูนย์นวัตกรรมสมุนไพรครบวงจร มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง รับตรวจวิเคราะห์และทดสอบฤทธิ์ทางชีวภาพด้านเอมไซน์ เพื่อตรวจวิเคราะห์หาสารที่มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระและฤทธิ์ยับยั้งเอมไซม์ดังต่อไปนี้
- DPPH
- ABTS
- FRAB
- Metal Chelating
- Alpha-Glucosidase
- Alpha-Amylase
- Tyrosinase Inhibitor Assay


ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ
Antioxidant หรือสารต้านอนุมูลอิสระ คือสารที่สามารถยับยั้ง หรือชะลอการเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชัน (oxidation) ซึ่งเป็นสาเหตุของการเกิดอนุมูลอิสระ (free radical) ศูนย์นวัตกรรมสมุนไพรครบวงจรบริการตรวจวิเคราะห์สารต้านอนุมูลอิสระของสารสกัดจากธรรมชาติเช่น สารสัดจากสมุนไพร โดยวิธีดังนี้
DPPH assay: เป็นวิธีที่ใช้สารเคมี 2,2-diphenyl-1-picrylhydrazyl ในการตรวจวิเคราะห์สารต้านอนุมูลอิสระไม่มีประจุ
ABTS assay : เป็นวิธีที่ใช้สารเคมี 2,2'-azino-bis(3-ethylbenzothiazoline-6-sulphonic acid) หรือ ABTS ในการตรวจวิเคราะห์สารต้านอนุมูลอิสระประจุบวก
DPPH และ ABTS assay วิธีเป็นวิธีการที่นิยมใช้กันอย่างกว้างขวางในการวิเคราะห์และตรวจหาสารต้านอนุมูลอิสระในผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติ ที่สะดวก รวดเร็ว ง่ายต่อการวิเคราะห์ ให้ความถูกต้องและแม่นยำสูง
FRAP (Ferric reducing antioxidant power): เป็นอีกวิธีหนึ่งที่ใช้ในการตรวจสอบความสามารถในการต้านออกซิเดชัน โดยอาศัยปฏิกิริยารีดอกซ์และติดตามการเปลี่ยนแปลงของสารประกอบเชิงซ้อน
Metal Chelating: เป็นวิธีการวิเคราะห์คุณสมบัติการเป็น iron chelating ของสารสกัดจากธรรมชาติ ซึ่งโลหะหนักเช่น Fe2+/Fe3+ และ Cu2+ มีผลเร่งให้เกิดปฏิกิริยาออกซิเดชันทำให้เกิดอนุมูลอิสระ


ฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์
บริการตรวจวิเคราะห์สารยับยั้งโรคเบาหวานจากผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ เช่น สารสกัดจากสมุนไพร โดยวิธีการดังนี้
Alpha-Glucosidase (α-glucosidase): วิธีการตรวจวิเคราะห์หาสารยับยั้งเอนไซม์แอลฟากลูโคซิเดส
Alpha-Amylase (α-amylase): วิธีการตรวจวิเคราะห์หาสารยับยั้งเอนไซม์แอลฟาอะไมเลส
ซึ่งแอลฟากลูโคซิเดส และ แอลฟาอะไมเลส เป็นเอนไซม์ที่มีความสำคัญต่อการย่อยแป้งและคาร์โบไฮเดรตให้เป็นน้ำตาลโมเลกุลเดี่ยว ในผู้ป่วยโรคเบาหวาน
บริการตรวจวิเคราะห์สารยับยั้งเอนไซม์ที่ยับยั้งกระบวนการสร้างเมลานินหรือเม็ดสี โดยวิธี
Tyrosinase Inhibitor Assay: วิธีตรวจวิเคราะห์สารยับยั้งเอนไซม์ไทโรซิเนสในกระบวนการสร้างเม็ดสีเมลานิน